โครงสร้างสำนักงานการกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
ปรับปรุงใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๘
๑. หลักการและเหตุผล
มหาเถรสมาคมได้อาศัยอำนาตตามความในมาตรา ๑๕ ตรี แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ จึงได้ออกระเบียบกำหนดวิธีปฏิบัติใน การไปต่างประเทศ สำหรับพระภิกษุสามเณร พ.ศ. ๒๕๓๗ ซึ่งกำหนดประเภทการเดินทาง คุณสมบัติผู้เดินทาง และกรณีในการไปต่างประเทศไว้รวมทั้งวิธีการขออนุญาต การพำนักการมีศูนย์ควบคุมการไปต่างประเทศ สำหรับพระภิกษุสามเณร (ศ.ต.ภ) และการควบคุมดูแลพระภิกษุสามเณรในขณะปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ สำหรับกรณีที่พระภิกษุเดินทางไปต่างประเทศ ในประเภทไปราชการหรือกิจของคณะสงฆ์ ซึ่งอยู่ใน อำนาจหน้าที่ของมหาเถรสมาคม ก็จะมีการจำแนกออกเป็นกรณีของการไปต่างประเทศ (หมวด ๑ ข้อ ๔ ก และหมวด ๓ ข้อ ๙) หลายประการ เช่น
๑. ไปสอนพระปริยัติธรรม หรือสอนพระพุทธศาสนาในถิ่นอันสมควร
๒. ไปเยี่ยมวัด หรือไปกิจนิมนต์
๓. ไปปฏิบัติศาสนกิจในฐานะพระธรรมทูต ฯลฯ
ในกรณีที่ ๓ พระภิกษุที่เดินทางไปต่างประเทศ เพื่อปฏิบัติศาสนกิจในตำแหน่งพระธรรมทูต ยังมีความ จำเป็นและสำคัญที่จะต้องกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติที่แตกต่างเฉพาะออกไป เนื่องจากมีคุณลักษณะ พิเศษเฉพาะคือมีเงื่อนไขระยะเวลาการพำนักประเภทการตรวจลงตราพำนัก (วีซ่า) หน้าที่ที่จะต้องปฏิบัติ คุณสมบัติเฉพาะบุคคลเหล่านี้จึงสมควรที่จะกำหนดระเบียบสำหรับพระธรรมทูตในต่างประเทศ ซึ่งจะเป็น ๒ ส่วน คือ
๑. สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
๒. สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
๒. วัตถุประสงค์
เพื่อให้สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เป็นสำนักงานที่จะสามารถบริหารจัดการ อำนวยการ เสริมสร้างประสิทธิภาพให้กับคณะพระธรรมทูตในต่างประเทศที่จะสามารถปฏิบัติศาสนกิจได้ อย่างเข้มแข็ง มีศักยภาพในการเผยแผ่หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาให้บุคคลในประเทศนั้น ๆ เข้าใจ และ สนใจที่จะเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ เป็นการประกาศเกียรติคุณของคณะสงฆ์ไทยและประเทศไทย การบริหารจัดการ ดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องกำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์ ให้มีความชัดเจนเชื่อมโยงกับองค์กรและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้อง การจัดลำดับขั้นตอน การกำหนดรูปแบบ การสร้างเสริม เพื่อทำการประเมินตลอดจนแก้ไขปัญหา ต่าง ๆ อันจะเป็นผลต่อการสร้างมาตรฐานความสำเร็จที่วัดได้ในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ
๓. รูปแบบโครงสร้าง
๓.๑ แบบผังโครงสร้าง : สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
๓.๒ หลักดำเนินการ :
๓.๒.๑ มหาเถรสมาคมเป็นองค์กรที่มีอ านาจสูงสุดในการพิจารณาอนุมัติ อนุญาตในการ นำเสนอเรื่องต่าง ๆ จากสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ
๓.๒.๒ สำนักงานกำกับฯ ทำหน้าที่บริหารงาน (รวมทั้งสำนักฝึกอบรมฯ) และการพิจารณา จัดสรรงบประมาณค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ
๓.๒.๓ สำนักงานกำกับ ฯ จะมีสำนักงานเพื่อทำหน้าที่ประสานงาน และปฏิบัติหน้าที่ตาม ภารกิจในส่วนที่รับผิดชอบและเกี่ยวข้องเฉพาะในส่วนของสำนักงานเอง และในส่วนของหน่วยงานหรือองค์กร ภายนอก
๔. องค์ประกอบการบริหารของสำนักงานกำกับฯ และบทบาทหน้าที่
๔.๑ สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ ประกอบด้วยประธาน รองประธาน เลขานุการ ผู้ช่วยเลขานุการ หัวหน้าสำนักงานผู้ช่วยหัวหน้าสำนักงาน และคณะที่ปรึกษา ๒ คณะ คือ ฝ่ายสงฆ์และฝ่าย ฆราวาส ซึ่งได้รับความเห็นชอบแต่งตั้ง และกำกับโดยมหาเถรสมาคม มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดรูปแบบ แนวทางการบริหาร ชี้แนะ และส่งเสริมเพื่อให้กิจการพระธรรมทูตในต่างประเทศดำเนินไปได้และประสบ ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
๔.๒ ในส่วนที่จะต้องมีการประสานงาน และบริหารจัดการในด้านการเดินทางของพระธรรมทูต
๔.๒.๑ จะต้องร่วมกับคณะกรรมการ ศ.ต.ภ. ในหลักการและขั้นตอนแยกเอกสารที่จะไม่ซ้ำซ้อน หรือสับสนในเรื่องหนังสือเดินทาง การขอต่ออายุหนังสือเดินทาง การขอหนังสือนำการตรวจลงตราเข้าเมือง (วีซ่า)และประเภทหนังสือเดินทาง
๔.๒.๒ จะต้องมอบหมายและกำกับดูแลให้สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศทำการ คัดเลือกพระภิกษุที่มีคุณสมบัติ และมีความเหมาะสมเข้ารับการอบรม มีทักษะศักยภาพ มีความรู้ ความสามารถในการที่จะไปปฏิบัติศาสนกิจในการเผยแผ่ การให้ความรู้ การจัดกิจกรรม เพื่อการส่งเสริมกิจการ พระพุทธศาสนาในนามคณะสงฆ์ไทยในต่างประเทศ ตลอดจนมีการประเมินผลทั้งในด้านความประพฤติ ปฏิบัติ ผลงานการดำเนินการ ความเป็นผู้มีความรู้ มีกลยุทธ์ ที่สามารถวัดได้ในเชิงประจักษ์ เพื่อประกอบการ พิจารณาความเหมาะสมในการต่ออายุการปฏิบัติงาน หรือการมอบหมายหน้าที่อื่น ๆ ให้ตามความเหมาะสม และความจำเป็น
๔.๓ สำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศ : จะมีหน้าที่เป็นสำนักงานปฏิบัติงาน เพื่อรับผิดชอบในเรื่องพระธรรมทูตในต่างประเทศทั้งสิ้น จะประกอบด้วยหน้าที่หลัก ๒ ส่วน คือ
๔.๓.๑ ส่วนประสานงาน คือ การทำหน้าที่ประสานเพื่อการดำเนินการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทำหน้าที่ส่วนรับผิดชอบ ซึ่งได้แก่
๔.๓.๑.๑ ส านักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ : เพื่อรับผิดชอบในการน ารายชื่อ พระภิกษุที่ได้รับการคัดเลือกเป็นพระธรรมทูต เสนอต่อมหาเถรสมาคมเพื่ออนุมัติ และทำหนังสือนำถึง กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อออกหนังสือเดินทาง หรือหนังสือนำการขอตรวจลงตราเข้าเมือง (วีซ่า) ถึง สถานทูตของประเทศต่าง ๆ ตลอดจนการจัดตั้งงบประมาณประจำปีเพื่อเป็นงบประมาณค่าใช้จ่ายในการ ปฏิบัติงานของสำนักงานกำกับ ฯ และสำนักฝึกอบรม ฯ
๔.๓.๑.๒ กระทรวง การต่างประเทศ เพื่อให้การสนับสนุนการออกหนังสือเดินทาง หนังสือนำการขอตรวจลงตราเข้าเมือง (วีซ่า) การให้ความดูแลต่อคณะสงฆ์ไทยในต่างประเทศในกรณีต่าง ๆ
๔.๓.๑.๓ ส านักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อให้การสนับสนุนและอำนวยความสะดวกใน การตรวจสอบประวัติบุคคล การตรวจคนเข้าเมือง
๔.๓.๒ ส่วนปฏิบัติการ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นฝ่ายต่าง ๆ ดังนี้
ก. ฝ่ายปกครอง มีหน้าที่มอบหมาย การให้อำนาจในการปกครอง ดูแล รายงาน ใน การปฏิบัติศาสนกิจของพระธรรมทูตในต่างประเทศแก่ผู้แทน ซึ่งอาจหมายถึงสมัชชาสงฆ์ คณะปกครอง พระธรรมทูตในแต่ละประเทศ เพื่อแบ่งเบาภาระในการกำกับติดตามดูแล เพื่อความรวดเร็วต่อสถานการณ์ และเป็น การป้องกันความเสียหายที่จำเป็นเร่งด่วน ตลอดจนการเสนอแนะข้อคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา การเพิ่มเติมหลักการที่จะเสริมสร้างประสิทธิภาพต่อองค์กร โดยเฉพาะอย่างยิ่งคือการประสานงานที่จะต้องมี การดำเนินการที่เป็นปัจจุบัน
ข. ฝ่ายวิชาการ : ทำหน้าที่ในการวิจัย ประสาน และพิจารณาความเหมาะสมร่วมกับ คณะสงฆ์ที่เป็นพระธรรมทูตในต่างประเทศ เกี่ยวกับการดำเนินบทบาทในด้านการจัดกิจกรรม และการเผยแผ่ หลักธรรมในพระพุทธศาสนาต่อบุคคลในประเทศนั้น ๆ อันเป็นเป้าหมายและวัตถุประสงค์หลักของการจัดส่ง พระธรรมทูตไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ ตลอดจนข้อมูลที่จำเป็น
ค. ฝ่ายธุรการ : ทำหน้าที่ในด้านเอกสารของสำนักงาน คือรวบรวม จัดทำข้อมูลบุคคล ที่เกี่ยวข้องในภารกิจของสำนักงานกำกับฯ และสำนักฝึกอบรม เพื่อสะดวกในการค้นคว้า การนำเสนอเพื่อ พิจารณา ตลอดจนทำหน้าที่ในด้านงานสำนักงานด้วย คือ ด้านการเบิกจ่ายเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ การจัดหา บุคลากรมาปฏิบัติงาน และการประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในประเทศ
ง. ฝ่ายประชาสัมพันธ์ : ทำหน้าที่ในด้านประชาสัมพันธ์กิจกรรมของสำนักงานและ องค์กรพระธรรมทูตในต่างประเทศ เพื่อเผยแพร่ในสื่อสารมวลชนทุกประเภท และให้บริการสารสนเทศเพื่อ อำนวยความสะดวกแก่พระธรรมทูต และวัด หรือหน่วยงาน ที่มาติดต่อ
จ. ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ : ทำหน้าที่ในด้านการประสานงานเพื่อกำหนดปฏิทิน งานของสำนักงานกำกับ ฯ และสำนักฝึกอบรมฯ ที่จะต้องสอดคล้องกัน รวมทั้งแผนงาน/โครงการที่จะ พิจารณาความเหมาะสม เพื่อขับเคลื่อนในแต่ละช่วงของปี การกำหนดการตรวจเยี่ยม การจัดประชุม สัมมนา อบรม หรือกิจกรรมทางศาสนา และการตั้งงบประมาณรายจ่ายที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติจะต้องรับ ไปดำเนินการในแต่ละปี ของแต่ละสำนักงาน ซึ่งจะครอบคลุมทั้ง ๒ คณะนิกาย คือ
๑. สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ จะเป็นงบประมาณค่าใช้จ่ายในการจัด ฝึกอบรม ปฏิบัติ ศึกษาดูงานทั้งในและต่างประเทศทั้ง ๒ คณะนิกาย
๒. สำนักกำกับพระธรรมทูตไปต่างประเทศ จะเป็นงบประมาณในการบริหารงานของ สำนักการเดินทางเพื่อร่วมตรวจเยี่ยม ประชุม ในกิจต่าง ๆ ทั้ง ๒ คณะนิกาย ๓. การจัดทำมาตรการ ระเบียบ ข้อกำหนดต่าง ๆ สำหรับใช้เฉพาะ (ปลีกย่อย) ให้ เป็นอำนาจของสำนักงานกำกับ ฯ และสำนักฝึกอบรม ฯ ของแต่ละคณะนิกาย ที่จะใช้บังคับในส่วน เฉพาะ แต่ในหลักการทั่วไปให้ใช้ยึดถือเป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกัน