3247 จำนวนผู้เข้าชม |
เถ้าพระอัฐิพระพุทธเจ้า
เมื่อปี 1957 ศาตราจารย์ บี. Subbrao และทีมนักโบราณคดี จากภาควิชาโบราณคดี และประวัติศาสตร์โบราณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาราชาสยาซิเรา (Maharaja Sayajirao University) เมืองวาโรดารา ได้ไปทำการ ขุดเจาะซากสถูปใหญ่ที่เมืองเทวนิโมรี ทางตอนเหนือของรัฐคุชราต ซึ่งการขุดเจะสถูปนี้ พวกเขาได้พบผอบ 2 ใบ
ใบแรก ฝังอยู่ใต้ดินชั้นล่างของสถูป ลักษณะเป็นหินเจาะตรงกลางและมีฝาปิด แต่ไม่เสร็จสมบูรณ์ ไม่บรรจุสิ่งใด
ใบที่สอง อยู่ช่วงกลางของสถูป มีการก่อหินล้อมไว้อย่างดี ผอบมีลักษณะทรงกลมมีฝาปิดใบ ทำจากหินแปรสีเขียว (chlorite schist) มีอักษรพราหมีจารึกไว้ทุกรอบด้าน
นักวิชาการโบราณคดีทีมของศาตราจารย์ วีเอช sonawane จึงได้ช่วยกันแกะ และแปลอักษรในจารึก พวกเขาจึงได้รู้ว่า จารึกนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน อีกทั้งยังได้ทราบว่า เป็นพระเถ้าอัฐิของพระพุทธเจ้า (ถ้าแปลเอาตรงๆ เขาว่า ซากศพพระพุทธเจ้า )
จารึกส่วนแรกนั้น กล่าวถึง "ปฏิจจสมุปบาท"
ซึ่งเป็นหลักธรรมที่อธิบายถึง การเกิดขึ้นพร้อมแห่งธรรมทั้งหลายเพราะอาศัยกัน เช่น ทุกข์เกิดขึ้นเพราะมีปัจจัย 12 เรื่องเกิดขึ้นสืบๆเนื่องกันมาตามลำดับ ..
จารึกส่วนที่สอง กล่าวถึงความเป็นมาของสถูป ความดังนี้..
" สถูปนี้สร้างในสมัยของพระเจ้ารุทราเสน (Rudrasena) แห่งราชวงศ์กธิกะ (Kathika) โดยการกำกับดูแลของพระสงฆ์ 2 รูปได้แก่ พระอัคนีพรหม (Agnivarmma) และพระสุทรสนะ (Sudarsana) ที่ใกล้ๆ กับเมืองกรมันฏิกะ (Karmantika) และปสันฏิกะ (Pasantika) สำหรับผอบนั้นสร้างถวายเป็นที่ประดิษฐานของ ทศพลสรีระ (Dashabalasharira) โดยพระเจ้าวรหะ โอรสของพระเจ้าเสนะ มีพระภิกษุมหาเสนะเป็นผู้จัดเตรียมผอบเพื่อบรรจุพระอัฐิธาตุ .."
นอกจากคำว่า ทศพลสรีระแล้ว ก็ยังมีคำจารึกพระนามอื่นของพระพุทธเจ้าอีก คือ ศากยภิกษุอวตาร (Sakyabhikshukavatr)
ส่วนสาเหตุที่พระเถ้าอัฐิของพระพุทธเจ้าไปอยู่ไกลถึงตอนเหนือ ของรัฐคุชราตนั้น เกิดจากพระเจ้าอโศกได้แบ่งพระบรมสาริกธาตุ แล้วเถ้าพระอัฐิใหม่ แล้วนำไปประดิษฐานตามวัดพุทธต่างๆ ถึง 80,000 กว่าแห่ง ในเวลาต่อมากษัตริย์เมืองเทวนิโมรีก็ได้รับมาด้วยเหมือนกัน จึงได้สร้างสถูปครอบไว้ เมื่อราว พุทธศักราช ที่ 700-800
ที่มาข้อมูล : ท่านคมสรณ์ - พระธรรมทูตไทยในอินเดีย